ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง
ผู้ศึกษา เอื้อการย์ ธนะสูตร
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง สังกัดเทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย
ปีที่ศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง ครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง กรอบแนวคิดในการวิจัยกำหนดขั้นตอนการวิจัยและพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน ดังนี้ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ต่อการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียน เทศบาล 3 ศรีสว่าง ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง และระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบสังเกตและรายงานการนิเทศภายใน 4) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ 6) แบบประเมินสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียน และ 7) แบบคัดกรองงานจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ต่อการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียน เทศบาล 3 ศรีสว่าง ผลการวิจัยดังนี้ 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง พบว่า โดยภาพรวมระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=3.48) สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความต้องการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.72) 2) สภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง พบว่า โดยภาพรวมระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=3.49) สภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความต้องการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.82) และ 3) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)) ในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย พบว่า มากที่สุดคือ ด้านการสะท้อนผล รายงานและเผยแพร่ผลการนิเทศภายใน รองลงมาคือ ด้านประเมินผล ติดตามและปรับปรุงการทำงานการนิเทศภายใน ด้านการดำเนินการนิเทศภายใน และด้านการวางแผนการนิเทศภายใน ตามลำดับ และ 4) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นปรับปรุง (PNImodified)) และลำดับ ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง พบว่า มากที่สุดคือ ด้านการสะท้อนผล รายงานและเผยแพร่ผลการนิเทศภายใน (PNImodified=.386) รองลงมาคือ ด้านประเมินผล ติดตามและปรับปรุงการนิเทศภายใน (PNImodified=.376) ด้านการดำเนินการนิเทศภายใน (PNImodified=.335) และด้านการวางแผนการนิเทศภายใน (PNImodified=.323) ตามลำดับ และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นปรับปรุง (PNImodified)) และลำดับความต้องการจำเป็นต่อการเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง พบว่า มากที่สุดมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น จำนวน 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย (PNImodified=.402) และองค์ประกอบที่ 4 การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (PNImodified=.402) รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 3 การดำเนินการวิจัย (PNImodified=.395) องค์ประกอบที่ 5 การสรุปและเขียนรายงานการวิจัย (PNImodified=.384) และองค์ประกอบที่ 1 การเลือกประเด็นการวิจัย (PNImodified=.324) ตามลำดับ
ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบและคู่มือการนิเทศภายใน PDER Model ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 30 ตัวชี้วัด คือ 1) การวางแผนการนิเทศภายใน (Planning: P) 8 ตัวชี้วัด 2) การดำเนินการนิเทศภายใน (Doing: D) 8 ตัวชี้วัด 3) การประเมินผล ติดตามและปรับปรุงการนิเทศภายใน (Evaluating Monitoring and Acting: E) 8 ตัวชี้วัด และ 4) การสะท้อนผล รายงานและเผยแพร่ผลการนิเทศภายใน (Reflecting Reporting and Disseminating: R) 6 ตัวชี้วัด ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.60) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.51) ส่วนความเหมาะสมต่อการเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.53) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (x̄=4.40)
ระยะที่ 3 การประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง มีดังนี้ 1) ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในหลังการใช้รูปแบบ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคนโดยมีคะแนนภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ 87.40 2) ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคนโดยมีคะแนนภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ 89.17 3) ระดับความสามารถด้านสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับสูง 4) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง พบว่า มีระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 องค์ประกอบ (x̄=4.64) 5) ผลการประเมินระดับสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (x̄=4.47) และ 6) ผลการคัดกรองงานวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีสว่าง พบว่า ผลงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินคัดกรอง ครูสามารถทำการวิจัยและเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนตามระเบียบวิธีวิจัยเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ เกิดนวัตกรรมงานวิจัยในชั้นเรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ต่อสถานศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครู
เป็นผลงานนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริม/พัฒนาครู ให้มีความเข้าใจชัดเจนในการทำวิจัยในเรียนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนได้เป็นอย่างดียิ่ง ขอชื่นชมค่ะ